New Center

กรมสอบสวนคดีพิเศษมีความเห็นเเจ้งข้อกล่าวหา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พวกรวมอีก 3 คน กรณีทุจริตโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ภายใต้โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งระยะที่ 2 ในวงเงินงบประมาณ 5,300 ล้านบาท ก่อนเรียกรับทราบข้อกล่าวหา 15 พฤศจิกายนนี้

12 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13:28 น. VOICEtvนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวสรุปความคืบหน้า กรณีทุจริตโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคำร้องเรียนให้มีการสืบสวนสอบสวน กรณี ทุจริตโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ภายใต้โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งระยะที่ 2 ในวงเงินงบประมาณ 5,300 ล้านบาท

ล่าสุดการสอบสวนได้เสร็จสิ้นแล้ว คณะทำงานสืบสวนสอบสวนได้สรุปสำนวนคดีพิเศษ โดย กล่าวหานายชินวรณ์ บุญยเกียรติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายเจี่ยง วงศ์สวัสดิ์สุริยะ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา และนายบำรุง อร่ามเรือง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือ สอศ. กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับความเสียหาย

โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดสนิทสนมหรือพวกพ้องของรัฐมนตรีเป็นคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ในการจัดหาครุภัณฑ์ ให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง จัดซื้อครุภัณฑ์ ที่มีราคาแพงเกินความจริง เช่น ครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าพื้นฐาน ราคาประมาณเพียงชุดละ 1ล้านบาท แต่ตั้งราคาสูงถึง 3 ล้านบาทและจัดซื้อ 19 ชุด เป็นเงินกว่า 57 ล้านบาท ผู้ขายมีกำไรกว่า38 ล้านบาท หรือครุภัณฑ์ที่จัดสรรให้วิทยาลัยไม่มีคุณภาพ และไม่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ไม่ได้สำรวจความต้องการครุภัณฑ์ของสถานศึกษาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน แต่จัดครุภัณฑ์ไปให้โดยที่สถานศึกษาไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดสเป็กและไม่ตรงกับวิชาการเรียนการสอน หรือยังไม่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับครุภัณฑ์นั้นทั้งนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 คน เข้าชี้แจงแสดงหลักฐาน กับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายนนี้ เวลา 09.00น. ด้วย

2012-08-16 21:27:56 หลังจากที่สำนักข่าวที-นิวส์ทำการเปิดประเด็นร้อนภายในบริษัททีโอทีจำกัดมหาชน กรณีการจัดเช่าวงจรเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยจากการทำงานในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ทำให้ทีมข่าวสามารล้วงลึกไปถึงการใช้งบประมาณของบริษัททีโอที ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายเครือข่ายกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่ครอบครองผลประโยชน์อันมหาศาลของทีโอทีได้เลยทีเดียวและเพื่อให้ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเราจะย้อนกลับไปตรวจสอบที่มาของเรื่องนี้กันอีกครั้ง การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศหรือ Internationnal internet bandwit ผ่านเส้นใยแก้วนำแสง คือวิวัฒนาการของยุคใหม่อย่างแท้จริง ในการให้บริการผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการต่อเชื่อมวงจรอินเตอร์เน็ตออกสู่ต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ให้บริการแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็นทีโอที ทีทีแอนด์ที ดีแทค เอไอเอส ทรูและอีกหลายๆเจ้ามีการแข่งดันเพื่อตอบสนองการใช้บริการเข้าสู่อินเตอร์เน็ตต่างประเทศของลูกค้ากันอย่างหนัก วิธีการพัฒนาถือเป็นรูปแบบตายตัวในการเช่าสัญญาณเชื่อมต่อของบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งถ้าผู้ให้บริการเจ้าไหนสามารถเพิ่มขนาดความเร็วของข้อมูลได้มากกว่า ก็มีโอกาสสูงที่จะให้บริการอินเตอร์เน็ตต่างประเทศด้วยความเร็วที่มากกว่า แต่การเพิ่มขนาดของความเร็วนั้นก็จะต้องแลกมาด้วยการจ่ายค่าเช่าสัญญาณที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยข้อมูลจากเนคเทคระบุว่า ปัจจุบันทีโอที มีปริมาณความเร็วของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คือ 4 G กับ 120 G หรือรวม 124 G True Internet อยู่ที่ 31 G กับ 32.9G และอีก 45m. หรือรวม 63.9G กับอีก 45m. หมายความว่าทีโอทีมีขนาดความเร็วอินเตอร์เน็ตต่างประเทศมากกว่าทรูถึง60.1 G หรือหมายความว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพหรือความเร็วมากกว่าทรูเกิน1เท่าตัว แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ว่าด้วยการให้บริการอินเตอร์เน็ตระหว่างทรูกับทีโอที หากพิจารณาตามข้อมูลเบื้องต้น ย่อมสรุปว่าอินเตอร์เน็ตต่างประเทศของทีโอทีจะต้องมีความเร็วกว่าทรู แต่ก็ยังต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วยอย่างเช่นจำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของทรูและทีโอทีว่ามีจำนวนมากน้อยต่างกันอย่างไร

ทีโอทีมีลูกค้า เอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้า เช่าอินเตอร์เน็ต 1 หมื่นรายทรู มีลูกค้าเอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 3 หมื่นราย พิจารณาตามนี้ ทีโอที กับทรู มีผู้ใช้บริการในจำนวนที่ใกล้เคียงกันมาก หมายความว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพหรือความเร็วมากกว่าทรู เพราะมีขนาดความเร็วของอินเตอร์เน็ตต่างประเทศมากกว่าทรู แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาข้อมูลพื้นฐาน จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีกับทรู ซึ่งมีตัวเลขใกล้เคียงกันที่ 1.3 ล้านราย ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า โดยหลักการแล้ว อินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็จะต้องมีความเร็วมากกว่าทรู ทีโอทีมีลูกค้า เอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 1 หมื่นรายทรู มีลูกค้าเอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 3 หมื่นราย

อย่างไรก็ตามหากยกตัวอย่างว่าอินเตอร์เน็ตของทีโอทียังมีความล่าช้ากว่าอินเตอร์เน็ตของทรู ในฐานะคู่แข่งขันทางธุรกิจ ทีโอที ก็จะต้องเพิ่มปริมาณอินเตอร์เน็ตให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจะเพิ่มปริมาณความเร็วนี้ ก็จะต้องมีการเปิดประมูลเช่าสัญญาณวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศมากขึ้นไปเรื่อยๆ ในอดีตที่ผ่านมาได้ทีโอทีได้มีการจัดหาวงจรสื่อต่างประเทศสารและวงจรต่อผ่านอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยการเช่ามาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 โดยการเปิดโอกาสให้บริษัทผู้ให้บริการวงจรสื่อสารและวงจรต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามาแข่งขันเสนอราคาต่อทีโอที เป็นการทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา ทีโอที มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่รับผิดชอบในการดูแลและจัดหาวงจรสื่อสารและวงจรต่อผ่านอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น มีข้อสังเกตว่า ทีโอที ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหา มาเป็นการเชิญชวนผู้ให้บริการเฉพาะราย ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซียเกือบทั้งหมด ประกอบด้วย บริษัท Telecom Malaysia บริษัท Fibercomm บริษัท Global บริษัทFiberrail บริษัท Transit Communications เท่านั้น ซึ่งการเชิญชวนดังกล่าวมีการตั้งข้อสังเกตดังนี้

1.เป็นการจำกัดการแข่งขันและมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ ทีโอที จะต้องจ่ายค่าเช่าวงจรในราคาที่สูงกว่าปกติและสูงกว่าราคาตลาดเป็นอย่างมาก

2.บริษัท เทเลคอมมาเลเซีย บริษัท Fibercomm บริษัทFiberrail เป็นบริษัทที่มีการจัดตั้งบริษัท อยู่ในข่ายของ “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 ดังนี้

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fibercomm จำนวน 51%

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fiberrail จำนวน54%

ในทางธุรกิจการเช่าวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศของทีโอทีจะต้องใช้งบประมาณให้คุ้มค่าที่สุดกับประสิทธิภาพของการให้บริการที่ได้รับ โดยเฉพาะเรื่องราคา ซึ่งโดยทั่วไป ทีโอทีก็จะต้องพยายามเช่าสัญญาณวงจรอินเตอร์เน็ตให้มีราคาถูกที่สุดและดีที่สุด

ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การประมูล หมายถึง การเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ที่เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด ตามความหมายของคำว่าประมูลดังกล่าว ทีโอทีก็จะต้องเปิดให้มีการแข่งขันให้มากที่สุด เพื่อให้บริษัทที่เข้ายื่นประมูลแต่ละรายทำการแข่งขันเสนอราคาให้ต่ำที่สุด แต่ถ้าหากว่า ทีโอทีเปิดประมูลแล้ว แต่บริษัทที่เสนอตัวเข้าแข่งขันเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกัน ก็จะทำให้ทีโอทีเสียเปรียบทันที เพราะบริษัทเหล่านี้ก็จะรู้ราคาการประมูลของกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ทีโอทีอาจจะต้องจ่ายเงินเช่าสัญญาณวงจรอินเตอร์เน็ตแพงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในข้อมูลของกลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจของทีโอที ที่นำไปยื่นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ ก็ปรากฎรายชื่อของบริษัทที่ทำการประมูลวงจรอินเตอร์เน็ตครั้งล่าสุดกับทีโอทีประกอบไปด้วย

1.บริษัท Telecom Malaysia

2.บริษัท Fibercomm

3.บริษัท Global

4.บริษัทFiberrail

5.บริษัท Transit Communications

ทั้ง 5 บริษัทนอกจากจะเป็นบริษัทสัญชาติมาเลเซียทั้งหมดแล้ว ขณะที่บริษัท บริษัท เทเลคอมมาเลเซีย บริษัท Fibercomm บริษัทFiberrail ก็เป็นบริษัทที่มีการจัดตั้งบริษัท อยู่ในข่ายของ “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 ดังนี้

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fibercomm จำนวน 51%

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fiberrail จำนวน54%

เป็นไปได้อย่างไรที่ทีโอทีจะทำการเปิดประมูลเพื่อให้บริษัทตกไปอยู่ในความเสี่ยงถึงขนาดนั้น แต่ในท้ายที่สุดเมื่อมีการเปิดประมูลขึ้น ผลที่ลงเอยก็คือ ตัวเลขการประมูลที่ผิดปกติจริงๆ ตามต่อในตอนต่อไป

ใส่ความเห็น